เทคนิคหนึ่งที่ผมนำมาใช้เสมอกรณีที่เริ่ม Setup คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานเองก็คือ จัดแบ่งพาร์ติชั่นให้เหมาะสม โดยแยกให้เป็นพาร์ติชั่นสำหรับระบบปฏิบัติการ พาร์ติชั่นสำหรับ Application และสำหรับ Cache Drive หรือ Temp Drive และเมื่อใดก็ตามที่ผมเห็นผู้ใช้งานท่านใด บ่นว่าไม่มีพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ผมว่าปัญหาแท้จริงนั้นไม่ใช่ว่าพื้นที่ทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์เต็มไปด้วยข้อมูล แต่ปัญหาจริงๆ ก็คือว่า การขาดการจัดการที่ดีมากกว่า แม้แต่ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ก็ต้องการการจัดการ
กรณีนี้ผมกล่าวถึงเฉพาะในพาร์ติชั่นของระบบปฏิบัติการและ Application เท่านั้น ส่วนตัวผมเองแล้ว ผมกำหนดให้มีขนาดไม่เกิน 800 เมกะไบต์ เพราะถือว่าการติดตั้งซอฟต์แวร์ Application ในปริมาณที่เกินกว่า 1 เมกะไบต์นั้น เป็นการสิ้นเปลืองและการไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง รวมไปถึงการจัดการที่ไม่ดีด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม พื้นที่ 800 เมกะไบต์ของผมก็ยังเต็มอยู่บ่อย ด้วยเหตุนี้ผมจึงเรียบเรียง กลวิธีง่ายๆในการดูแลพาร์ติชั่นดังกล่าวให้สะอาดและมีพื้นที่ว่างประมาณ 30 - 50 เมกะไบต์เสมอ ทำไมต้องมีพื้นที่ว่าง เพราะต้องว่างไว้สำหรับข้อมูลแคชของ Netscape , Internet Explorer , ไฟล์ที่มีผู้ส่งให้ทาง E-mail และข้อมูลที่ต้องถูกเก็บโดยอัตโนมัติในพาร์ติชั่นเดียวกับ Application ไม่สามารถแยกเก็บต่างหากได้
1. Recycles Bin คือ สถานที่แรกที่ควรพิจารณาจัดการ ปกติถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ขนาดของถังขยะจะมีความจุ 1/10 เท่าของพื้นที่พาร์ติชั่น กรณีของฮาร์ดดิสก์ 1 กิกะไบต์ ก็จะมีถังขยะขนาด 100 เมกะไบต์ หากไม่จัดการให้เหมาะสม ปล่อยให้ถังขยะเต็มอยู่ตลอดเวลา ก็จะเสียพื้นที่ 100 เมกะไบต์ไปโดยเปล่าประโยชน์
2. การจัดการกับข้อมูลใน Disk Cache ของบราวเซอร์ เช่น Netscape , Internet Explorer ข้อดีของการมีข้อมูลเหล่านั้นไว้ก็คือ ประหยัดเวลาในการดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต และใช้ดูขณะ Offline ได้ แต่ข้อเสียก็คือใช้พื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ ทางที่ดีควร "ล้างแคช" โดยการใช้ฟังก์ชั่น Clear Cache ของบราวเซอร์ที่ใช้งาน กรณีของ Netscape นั้น ไฟล์ที่ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตอยู่ใน C:\Program File\Netcape\…\cache ส่วนกรณีของ Internet Explorer นั้นอยู่ใน C:\Windows\Teporary Internet File\ พื้นที่ที่ใช้ในการเก็บไฟล์เหล่านั้นเริ่มจากไม่กี่เมกะไบต์ไปจนหลายสิบเมกะไบต์ ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ได้ใช้งานก็ควรลบออก
3. การจัดการกับไฟล์ที่ส่งแนบมากับจดหมายอิเลคทรอนิคส์ และไฟล์ข้อมูลที่ดาวน์โหลดเข้าเก็บไว้โดยโปรแกรมประเภท Offline Web Browser สำหรับไฟล์ที่แนบมากับจดหมายอิเลคทรอนิคส์นั้น อาจต้องการใช้งานระยะเวลาสั้นๆ หลังจากต้องดำเนินการขั้นต่อไปคือ ตัดสินใจว่าจะสำรองข้อมูลไว้ หรือลบทิ้ง หรือนำไปจัดเก็บในพาร์ติชั่นสำหรับข้อมูล ส่วนไฟล์ HTMLและรูปภาพที่ดาวน์โหลดโดย Offline Web Browser ถ้าหากต้องการเก็บไว้อ้างอิงระยะยาว ก็ควรย้ายไปยังพาร์ติชั่นสำหรับข้อมูลเช่นกัน หากไม่ต้องการใช้ก็ลบทิ้ง พื้นที่ว่างที่ได้เพิ่มขึ้นนั้น หลากหลายตามสัดส่วนความรกของไฟล์ สำหรับไฟล์ที่รับจาก e-mail กรณีที่ใช้งาน Eudora พบว่าบางครั้งไฟล์ขนาดใหญ่ และรับครั้งเดียวไม่สำเร็จ และเมื่อรับครั้งต่อไป ไฟล์นั้นจะถูกทิ้งไว้ และสร้างชื่อใหม่ขึ้นอีก ไฟล์ที่ใช้ได้คือไฟล์ที่สมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นจึงควรตรวจสอบและกำจัดไฟล์ขยะทิ้งไป
4. ไฟล์นามสกุล .tmp ใน C:\Windows\temp เป็นไฟล์ชั่วคราว (Temporary File)ที่ถูกสร้างขณะที่ใช้งาน Application ต่างๆ ถ้าหากการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยการเปิด-ปิดตามปกติ ไฟล์ชั่วคราวดังกล่าวจะถูกทำลายโดยอัตโนมัติเมื่อใช้งานเสร็จ แต่ในกรณีที่วินโดวส์หยุดทำงานเพราะแฮงค์ ไฟล์ชั่วคราวดังกล่าวจะเหลืออยู่ และเมื่อเป็นปริมาณมากๆ ขนาดก็ใหญ่ตาม การกำจัดทำได้โดยใช้ยูทิลิตีส์ เช่น Norton Utility | Space Wizard
5. ทิ้งชิ้นส่วนที่ไม่ได้ใช้งานแต่ถูกติดตั้งลงไปเมื่อติดตั้งวินโดวส์ สำหรับวินโดวส์ภาษาไทย สิ่งที่ลบออกได้ก็คือ C:\Program File\Online Service จะสังเกตเห็นว่า Online Services ที่ให้มานั้นคือ ของ AT &T , CompuServe, AOL ซึ่งเป็น บริการที่หาไม่ได้ในประเทศไทย แต่ถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติ ไม่มีตัวเลือกให้ว่าจะเลือกติดตั้งหรือไม่ติดตั้ง และไม่มีตัว Uninstall ที่มากับ Windows ด้วย การลบทำได้สองวีธีคือ ลบด้วยมือ โดยเข้าไปลบใน Windows Explorer หรือใช้ยูทิลิตีส์ในการ Uninstall เช่น Clean Sweep , Uninstall การทิ้งส่วนนี้ให้พื้นที่ว่างถึง 9 เมกะไบต์
6. Application ที่แถมมากับวินโดวส์ แต่ไม่ได้ใช้งาน กรณีนี้ควรตรวจสอบก่อนลบว่าต้องการใช้อยู่หรือไม่ เช่น Hyper Terminal , Word Pad Thai , Windows Messaging , Paint , ทำให้พื้นที่ว่างลงอีกหลายเมกะไบต์ได้เช่นกัน การเอาออกทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน Add / Remove Program ใน Control Panel
7. ไฟล์สำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการ แต่หลงเหลือไว้ในฮาร์ดดิสก์หลังจากติดตั้งวินโดวส์เสร็จเรียบร้อย พบในบางกรณี เช่น Notebook ยี่ห้อ Toshiba เมื่อซื้อมานั้น มักจะมาพร้อมกับวินโดวส์ 95 ซึ่งถูกติดตั้งเรียบร้อย แล้ว แต่ไฟล์สำหรับติดตั้งนั้นจะอยู่ใน C:\Windows\Option ซึ่งมีขนาดความจุ 60 - 90 เมกะไบต์ ทั้งนี้ประโยชน์ของการมีไฟล์ดังกล่าวไว้คือ กรณีที่วินโดวส์เสียหาย ก็สามารถติดตั้งจากตัวต้นฉบับที่ถูกคัดลอกไว้ดังกล่าวได้ แต่ก็เสียพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ไป ทางที่ดีควรพิจารณาสำรองไว้ในแผ่นฟล๊อปปี้ หรือหากเป็นการใช้งานคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (Workgroup) ก็ควรขอพื้นที่ในเซอร์เวอร์ เพื่อฝากไฟล์ดังกล่าว หรือหากไม่สามารถลบทิ้ง ไม่สามารถฝากไฟล์ไว้ที่เครื่องอื่นได้ แนะนำให้ลบไฟล์ชื่อ wowkit.exe ซึ่งมีขนาดถึง 19 เมกะไบต์ออก เพราะเป็นไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งานกันตามปกติเช่นเดียวกัน
8. ไล่ดูแต่ละโฟลเดอร์ทั้งใหญ่และย่อยถ้าทำได้ บางทีอาจจะเหลือขยะที่ทำให้เราจัดการได้บ้าง เช่น ไฟล์ตกค้างใน Eudora , ไฟล์ตกค้างจากการใช้ Offline Browser เช่น Teleport หรือไฟล์ที่เราอาจจะค้นพบได้เพิ่มเติมว่า มันไม่มีประโยชน์ และเปลืองพื้นที่ฮาร์ดดิสก์โดยไม่จำเป็น
กรณีนี้ผมกล่าวถึงเฉพาะในพาร์ติชั่นของระบบปฏิบัติการและ Application เท่านั้น ส่วนตัวผมเองแล้ว ผมกำหนดให้มีขนาดไม่เกิน 800 เมกะไบต์ เพราะถือว่าการติดตั้งซอฟต์แวร์ Application ในปริมาณที่เกินกว่า 1 เมกะไบต์นั้น เป็นการสิ้นเปลืองและการไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง รวมไปถึงการจัดการที่ไม่ดีด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม พื้นที่ 800 เมกะไบต์ของผมก็ยังเต็มอยู่บ่อย ด้วยเหตุนี้ผมจึงเรียบเรียง กลวิธีง่ายๆในการดูแลพาร์ติชั่นดังกล่าวให้สะอาดและมีพื้นที่ว่างประมาณ 30 - 50 เมกะไบต์เสมอ ทำไมต้องมีพื้นที่ว่าง เพราะต้องว่างไว้สำหรับข้อมูลแคชของ Netscape , Internet Explorer , ไฟล์ที่มีผู้ส่งให้ทาง E-mail และข้อมูลที่ต้องถูกเก็บโดยอัตโนมัติในพาร์ติชั่นเดียวกับ Application ไม่สามารถแยกเก็บต่างหากได้
1. Recycles Bin คือ สถานที่แรกที่ควรพิจารณาจัดการ ปกติถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ขนาดของถังขยะจะมีความจุ 1/10 เท่าของพื้นที่พาร์ติชั่น กรณีของฮาร์ดดิสก์ 1 กิกะไบต์ ก็จะมีถังขยะขนาด 100 เมกะไบต์ หากไม่จัดการให้เหมาะสม ปล่อยให้ถังขยะเต็มอยู่ตลอดเวลา ก็จะเสียพื้นที่ 100 เมกะไบต์ไปโดยเปล่าประโยชน์
2. การจัดการกับข้อมูลใน Disk Cache ของบราวเซอร์ เช่น Netscape , Internet Explorer ข้อดีของการมีข้อมูลเหล่านั้นไว้ก็คือ ประหยัดเวลาในการดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต และใช้ดูขณะ Offline ได้ แต่ข้อเสียก็คือใช้พื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ ทางที่ดีควร "ล้างแคช" โดยการใช้ฟังก์ชั่น Clear Cache ของบราวเซอร์ที่ใช้งาน กรณีของ Netscape นั้น ไฟล์ที่ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตอยู่ใน C:\Program File\Netcape\…\cache ส่วนกรณีของ Internet Explorer นั้นอยู่ใน C:\Windows\Teporary Internet File\ พื้นที่ที่ใช้ในการเก็บไฟล์เหล่านั้นเริ่มจากไม่กี่เมกะไบต์ไปจนหลายสิบเมกะไบต์ ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ได้ใช้งานก็ควรลบออก
3. การจัดการกับไฟล์ที่ส่งแนบมากับจดหมายอิเลคทรอนิคส์ และไฟล์ข้อมูลที่ดาวน์โหลดเข้าเก็บไว้โดยโปรแกรมประเภท Offline Web Browser สำหรับไฟล์ที่แนบมากับจดหมายอิเลคทรอนิคส์นั้น อาจต้องการใช้งานระยะเวลาสั้นๆ หลังจากต้องดำเนินการขั้นต่อไปคือ ตัดสินใจว่าจะสำรองข้อมูลไว้ หรือลบทิ้ง หรือนำไปจัดเก็บในพาร์ติชั่นสำหรับข้อมูล ส่วนไฟล์ HTMLและรูปภาพที่ดาวน์โหลดโดย Offline Web Browser ถ้าหากต้องการเก็บไว้อ้างอิงระยะยาว ก็ควรย้ายไปยังพาร์ติชั่นสำหรับข้อมูลเช่นกัน หากไม่ต้องการใช้ก็ลบทิ้ง พื้นที่ว่างที่ได้เพิ่มขึ้นนั้น หลากหลายตามสัดส่วนความรกของไฟล์ สำหรับไฟล์ที่รับจาก e-mail กรณีที่ใช้งาน Eudora พบว่าบางครั้งไฟล์ขนาดใหญ่ และรับครั้งเดียวไม่สำเร็จ และเมื่อรับครั้งต่อไป ไฟล์นั้นจะถูกทิ้งไว้ และสร้างชื่อใหม่ขึ้นอีก ไฟล์ที่ใช้ได้คือไฟล์ที่สมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นจึงควรตรวจสอบและกำจัดไฟล์ขยะทิ้งไป
4. ไฟล์นามสกุล .tmp ใน C:\Windows\temp เป็นไฟล์ชั่วคราว (Temporary File)ที่ถูกสร้างขณะที่ใช้งาน Application ต่างๆ ถ้าหากการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยการเปิด-ปิดตามปกติ ไฟล์ชั่วคราวดังกล่าวจะถูกทำลายโดยอัตโนมัติเมื่อใช้งานเสร็จ แต่ในกรณีที่วินโดวส์หยุดทำงานเพราะแฮงค์ ไฟล์ชั่วคราวดังกล่าวจะเหลืออยู่ และเมื่อเป็นปริมาณมากๆ ขนาดก็ใหญ่ตาม การกำจัดทำได้โดยใช้ยูทิลิตีส์ เช่น Norton Utility | Space Wizard
5. ทิ้งชิ้นส่วนที่ไม่ได้ใช้งานแต่ถูกติดตั้งลงไปเมื่อติดตั้งวินโดวส์ สำหรับวินโดวส์ภาษาไทย สิ่งที่ลบออกได้ก็คือ C:\Program File\Online Service จะสังเกตเห็นว่า Online Services ที่ให้มานั้นคือ ของ AT &T , CompuServe, AOL ซึ่งเป็น บริการที่หาไม่ได้ในประเทศไทย แต่ถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติ ไม่มีตัวเลือกให้ว่าจะเลือกติดตั้งหรือไม่ติดตั้ง และไม่มีตัว Uninstall ที่มากับ Windows ด้วย การลบทำได้สองวีธีคือ ลบด้วยมือ โดยเข้าไปลบใน Windows Explorer หรือใช้ยูทิลิตีส์ในการ Uninstall เช่น Clean Sweep , Uninstall การทิ้งส่วนนี้ให้พื้นที่ว่างถึง 9 เมกะไบต์
6. Application ที่แถมมากับวินโดวส์ แต่ไม่ได้ใช้งาน กรณีนี้ควรตรวจสอบก่อนลบว่าต้องการใช้อยู่หรือไม่ เช่น Hyper Terminal , Word Pad Thai , Windows Messaging , Paint , ทำให้พื้นที่ว่างลงอีกหลายเมกะไบต์ได้เช่นกัน การเอาออกทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน Add / Remove Program ใน Control Panel
7. ไฟล์สำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการ แต่หลงเหลือไว้ในฮาร์ดดิสก์หลังจากติดตั้งวินโดวส์เสร็จเรียบร้อย พบในบางกรณี เช่น Notebook ยี่ห้อ Toshiba เมื่อซื้อมานั้น มักจะมาพร้อมกับวินโดวส์ 95 ซึ่งถูกติดตั้งเรียบร้อย แล้ว แต่ไฟล์สำหรับติดตั้งนั้นจะอยู่ใน C:\Windows\Option ซึ่งมีขนาดความจุ 60 - 90 เมกะไบต์ ทั้งนี้ประโยชน์ของการมีไฟล์ดังกล่าวไว้คือ กรณีที่วินโดวส์เสียหาย ก็สามารถติดตั้งจากตัวต้นฉบับที่ถูกคัดลอกไว้ดังกล่าวได้ แต่ก็เสียพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ไป ทางที่ดีควรพิจารณาสำรองไว้ในแผ่นฟล๊อปปี้ หรือหากเป็นการใช้งานคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (Workgroup) ก็ควรขอพื้นที่ในเซอร์เวอร์ เพื่อฝากไฟล์ดังกล่าว หรือหากไม่สามารถลบทิ้ง ไม่สามารถฝากไฟล์ไว้ที่เครื่องอื่นได้ แนะนำให้ลบไฟล์ชื่อ wowkit.exe ซึ่งมีขนาดถึง 19 เมกะไบต์ออก เพราะเป็นไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งานกันตามปกติเช่นเดียวกัน
8. ไล่ดูแต่ละโฟลเดอร์ทั้งใหญ่และย่อยถ้าทำได้ บางทีอาจจะเหลือขยะที่ทำให้เราจัดการได้บ้าง เช่น ไฟล์ตกค้างใน Eudora , ไฟล์ตกค้างจากการใช้ Offline Browser เช่น Teleport หรือไฟล์ที่เราอาจจะค้นพบได้เพิ่มเติมว่า มันไม่มีประโยชน์ และเปลืองพื้นที่ฮาร์ดดิสก์โดยไม่จำเป็น